วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของชะเอมกับผิวพรรณ


ชะเอมสมุนไพรที่ทำให้ผิวขาวและป้องกันแสงแดด






ชื่อวิทยาศาสตร์   Albizia myriophylla  Benth
ชื่ออื่น :  ชะเอมป่า (กลาง) ตาลอ้อย (ตราด) เพาะซูโพ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ย่านงาย (ตรัง) ส้มป่อยหวาน (ภาคเหนือ) อ้อยช้าง (สงขลา,นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถารอเลื้อย ลำต้น กิ่งก้านมีหนามแหลมสั้น เปลือกต้นมีรอยแตกตามขวางลำต้น ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายใบรูปใบหอก โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด มีดอก 2 แบบ ดอกสีเหลืองอ่อน กลีบดอกเล็ก เกสรเพศผู้ยาว ผล เป็นฝักแบน ผิวเรียบ ฝักอ่อนสีเขียว พอแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกออก

ส่วนที่ใช้   ราก เนื้อไม้
ชะเอมเทศ มีสมบัติดูดรังสียูวี มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฆ่าเชื้อแบคทีเรีย, เปราะหอม ช่วยขับพิษจากผิว ทำให้เลือดลมดี ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง, ฝาง บำรุงผิวพรรณให้สดใสเปล่งปลั่ง รักษาอาการอักเสบของสิว
สารสกัดจากชะเอมเทศ (licorice extract)ป็นสารสกัดของรากชะเอมเทศ ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Glycyrrhiza glabra L. ชะเอมเทศมีสรรพคุณทางยา  เช่น  แก้ไอ  ขับเสมหะ  แก้ปวดท้อง รักษาแผลในกระเพาะอาหาร  สงบประสาท  ต้านอักเสบ  และใช้แต่งรสหวานในตำรับยาแผนโบราณ เป็นต้น สารสำคัญในรากชะเอมเทศ  ได้แก่  triterpenes, saponins  และ  flavonoids ต่อมาได้มีการค้นพบว่าสารสกัดชะเอมเทศในหลอดทดลอง      และสัตว์ทดลองมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase จึงอาจช่วยให้มนุษย์มีผิวขาวขึ้นได้

พญายากับผิวพรรณ

เป็นสมุนไพรอีกตัวที่บำรุงผิวและป้องกันแสงแดด



พญายา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Naringi crenulata (Roxb.), Nicolson (Hesperethusa crenulata (Roxb.) Roem.)
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่ออื่น : ขะแจะ, ตุมตัง, กระแจะ

รูปลักษณะ : พญายา เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร กิ่งก้านมีหนาม ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่สลับ กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 2-7 ซม. ก้านใบแผ่เป็นปีก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม

สรรพคุณของ พญายา : แก่น ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ดองเหล้ากินแก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง), ลำต้น ใช้ต้มน้ำดื่ม ครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง เช้า-กลางวัน-เย็น แก้อาการโรคผิวหนังมีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ร่วมด้วย แก้ปวดตามข้อ ปวดเมื่อย เส้นตึง แก้ร้อนใน, เปลือกต้น แก้ไข้ บำรุจิตใจ
ให้ชุ่มชื่นแจ่มใส

 พญายา บำรุงผิวให้เนียนนุ่ม ลดการอักเสบ ขจัดสิว ฝ้า รอยด่างดำและกันป้องกันเม็ดผดผื่น 
ชะเอมเทศ มีสมบัติดูดรังสียูวี มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

สรรพคุณ  ลดการอักเสบจากสิว ลดอาการแพ้และระคายเคือง ปรับผิวให้ขาว  ลดรอยด่างดำ
                  ช่วยต้านเอ็นไซม์ไทโรซิเนส ระคายเคืองผิวน้อย ป้องกันผิวจากรังสี  UV 
                  มีคุณสมบติดูดซับรังสี  UV   

สมุนไพรที่ทำให้ผิวดี



สมุนไพรที่ี่ี่บำรุงผิวและป้องกันแสงแดด

ไม้ทานาคา มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า LICODIA ACIDISSIMA เป็นไม้เนื้อแข็ง ขึ้นในเขตแห้งแล้งในภาคกลางของประเทศพม่า แถบพุกาม หรือ มัณฑะเลย์เท่านั้น ส่วนที่มีกลิ่นหอมและเป็นสมุนไพรสารพัดประโยชน์ คือ ส่วนที่เป็นเปลือก สาวพม่ารู้จักใช้ทานาคามา เวลาใช้ก็นำเอาท่อนไม้ทานาคามาฝนกับแผ่นหิน เจือด้วยน้ำเล็กน้อย แล้วใช้ทาเรือนร่างโดยเฉพาะใบหน้าจะเน้นมาก
ไม้ทานาคา มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่สูงมาก ที่ เปลือกของไม้ทานาคา มีสาร OPC เช่นเดียวกับที่พบในเปลือกสนฝรั่งเศส และที่เนื้อในของไม้ทานาคามีสารCurcuminoid ที่มักพบในขมิ้นชันที่ประเทศไทย  ทำให้ทานาคามีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะต่อต้านความเสื่อมของเซลล์และยังช่วยป้องกันการเกิดสิว ด้วยคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และช่วยลดผดผื่นคัน ลดการเกิดจุดด่างดำและฝ้า  มีฤทธิ์ลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน และยังช่วยป้องกันการทำลายผิวจากรังสียูวี

1. ทานาคาของแท้ ยากจะพิสูจน์ แต่มีหลักง่าย ๆ คือ ให้เอามะนาวบีบลงบนผงทานาคาที่คิดว่าใช่ ถ้ามันเกิดฟองฟู่ ของปลอม เพราะของปลอมจะถูกผสมด้วยดินสอพอง แลสามารถสังเกตุด้วยการสัมผัส ถ้าหยิบเอาผงทานาคา
ใส่นิ้วมือแล้วมันเนียนเหมือนแป้งฝุ่น ของแท้จะต้องหยาบหน่อยๆ เหมือนเม็ดข้าวสารคั่ว
กรรมวิธีการบดอย่างนั้น เขาบดด้วยมือ ซึ่งจะคงคุณค่ากว่าการเอาไปเข้าอุตสาหกรรม 
ผ่านการอบเชื้อ

2. ลองดมดู ทานาคามันจะมีกลิ่นเย็น ๆ โชยออกมาหน่อย นั่นแหละของแท้ แต่ว่าถ้าเย็นมาก ๆ หอมมาก ๆ นั่นผสมแป้งหอม ดังนั้นก็ให้ยึดหลัก หยาบ + หอมนิดหน่อย คือ แทบจะไม่ได้กลิ่นเลย ถ้ามันไม่โดนน้ำ